รองศาสตราจารย์กรรณิการ์  วิมลเกษม

ภาคีสมาชิก  แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗  สาขาวิชาอักษรโบราณ  ประเภทวิชาวรรณศิลป์  สำนักศิลปกรรม

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา

                    –   กรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมท้องถิ่นไทยภาคเหนือ
                    –   กรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมท้องถิ่นไทยภาคอีสาน
                    –   กรรมการดำเนินงานจัดทำพจนานุกรมภาษาไทยถิ่น ภาคเหนือ
                                                            ฯลฯ

ประวัติการศึกษา

                    –   ศศ.บ. (ภาษาไทย) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๑๔
                    –   ศศ.ม. (จารึกภาษาไทย) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๔
                    –   D.E.A. (Méthodes de l’Histoire et de I’Archéologie) École Pratique des
                        Hautes Études, Sciences historique et philologiques, ประเทศฝรั่งเศส
                        (พ.ศ. ๒๕๓๕)

ผลงานวิชาการ

                    –   ภาษาไทยถิ่นเหนือ. พิมพ์ครั้งที่ ๓, กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี
                        มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๕.
                    –   ตำราเรียนอักษรไทยโบราณ : อักษรขอมไทย อักษรธรรมล้านนา อักษรธรรมอีสาน.
                        พิมพ์ครั้งที่ ๓, กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชนปริ้นติ้ง, ๒๕๕๘.
                    –   “หน่วยที่ ๒ อักษรและภาษาถิ่นในวรรณกรรมท้องถิ่น” ใน ประมวลสาระชุดวิชา
                        วรรณกรรมท้องถิ่น หน่วยที่ ๑-๗. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๕๕.
                    –   อักษรฝักขามที่พบในศิลาจารึกภาคเหนือ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๗.
                    –   จารึกล้านนา ภาคที่ ๑ : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์
                        พริ้นติ้งกรุ๊พ, ๒๕๓๔. (ผู้วิจัยร่วม)
                    –   จารึกล้านนา ภาคที่ ๒ : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ:
                        กรมศิลปากร, ๒๕๕๑. (ผู้วิจัยร่วม)
                    –   “จารึกมอญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : การศึกษาเชิงอักขรวิทยา.” ใน การประชุม
                        ทางวิชาการระดับชาติฝรั่งเศส-ไทย ครั้งที่ ๑, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๑.
                    –   “อักษรฝักขามที่พบในจารึกเชียงตุง : การศึกษาเบื้องต้น.” ใน ภาษา จารึก ฉบับที่ ๒,
                        กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี  มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๒.
                    –   “จารึกบ้านห้วยทราย.” ใน ภาษา จารึก ฉบับที่ ๓, กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาตะวันออก
                        คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๔, ๙-๒๓.
                    –   “จารึกวัดวิชุน เมืองหลวงพระบาง.” วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ๑๔ (มิถุนายน
                        ๒๕๓๖-พฤษภาคม ๒๕๓๗) : ๒๓๗-๒๔๓.
                    –   “พัฒนาการของอักษรโบราณในประเทศไทย.” ใน สังคมและวัฒนธรรมในประเทศไทย.
                        กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ๒๕๔๒.
                    –   “จารึกวัดธาตุเมืองหลวงพระบาง.” ใน ๘๐ ปี ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร,
                        กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๒,
                        ๖๓-๖๖.
                    –   “อักษรและภาษาในจารึกสมัยทวารวดี.” เสนอในการสัมมนาทางวิชาการเรื่องพัฒนาการ
                        ทางโบราณคดี จัดโดยภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
                        วันที่ ๒๔-๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๔.
                    –   “ศักราช ศก ปี วัน เดือน ฤกษ์ และยามในจารึกล้านนา.” ใน ดำรงวิชาการ, ๑, ๑
                        (มิถุนายน ๒๕๔๕) : ๒๙๕-๓๒๐.

เกียรติคุณที่ได้รับ

                    –   ศิษย์เก่าดีเด่น คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๕๔๗)
                    –   ศิษย์เก่าดีเด่น ประเภทผู้ส่งเสริมการศึกษาวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. ๒๕๕๒)
                    –   ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย ในโอกาสวันภาษาไทยแห่งชาติ  กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
                        กระทรวงวัฒนธรรม (พ.ศ. ๒๕๕๖)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์           ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)