ชื่อ รองศาสตราจารย์โชษิตา มณีใส
วัน เดือน ปี เกิด วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๙
ภาคีสมาชิก แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ สาขาวิชาวรรณกรรมร้อยกรอง
ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สำนักศิลปกรรม
ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
– กรรมการส่งเสริมและเผยแพร่การใช้ภาษาไทย
– กรรมการประมวลศัพท์ต่างประเทศที่ใช้คำไทยแทนได้
– บรรณาธิการจัดทำสารานุกรมวรรณกรรมไทยสมัยใหม่
– กรรมการคัดเลือกผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น
ประวัติการศึกษา
– อักษรศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติการทำงานวิชาการ
– กรรมการวรรณคดีแห่งชาติ กรมศิลปากร
– ผู้ทรงคุณวุฒิโครงการสารานุกรมสำหรับเยาวชนไทยตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
– ผู้ตรวจประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้ของเอกชน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
ผลงานวิชาการ
– ระเด่นลันได : วรรณกรรมอำพราง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๔.
– วรรณกรรมร้อยกรองของไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๗.
– การใช้ภาษาไทยเพื่อประสิทธิผล. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
๒๕๕๘.
– “ราชกิจพิสิฐล้ำเลอคุณ.” วารสารราชบัณฑิตยสถาน. ปีที่ ๓๑ ฉบับที่ ๓ (กรกฎาคม-
กันยายน) หน้า ๖๓๙-๖๔๓, ๒๕๔๙.
– “อุทกกลหะคำกาพย์” หรือ “สมานฉันท์คำกาพย์.” น้ำกับชีวิต. วารสาร
ราชบัณฑิตยสถาน ฉบับพิเศษเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญ
พระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา, ๒๕๕๐.
– “สุภาษิตบัณฑิต (ประดิษฐ์) พระร่วง.” วารสารราชบัณฑิตยสถาน. ๓๓ (กรกฎาคม-
กันยายน), หน้า ๑๕๑-๑๖๑, ๒๕๕๑.
– “เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง : วาทวินิจตามแนวคิดเรื่อง
หลักการโต้แย้ง.” ประมวลผลงานของสำนักศิลปกรรม (พ.ศ. ๒๕๔๓-๒๕๔๗). กรุงเทพฯ :
ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๑.
– “จารึกวัดพระเชตุพนฯ บรรทัดฐานด้านการประพันธ์ และกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ฉบับ
พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส.” วารสาร
ราชบัณฑิตยสถาน, ๓๔ (กรกฎาคม-กันยายน), หน้า ๕๘๕-๖๐๖, ๒๕๕๒.
– “กวีวัจนะในนิทานเวตาลของ น.ม.ส.” วารสารราชบัณฑิตยสถาน, ๓๔ (ตุลาคม-
ธันวาคม), หน้า ๘๑๐-๘๒๔, ๒๕๕๒.
– “การศึกษากฤษณาสอนน้องคำฉันท์เชิงประวัติและวิจารณทัศน์เรื่องการอ้างอิง.”
วารสารวรรณวิทัศน์. ๙ (พฤศจิกายน), หน้า ๑-๒๕, ๒๕๕๒.
– “ลักษณะคำประพันธ์ของบทละครเรื่องโรเมโอและจูเลียตพระราชนิพนธ์ใน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.” วารสารราชบัณฑิตยสถาน, ๓๕ (มกราคม-
มีนาคม), หน้า ๑๓๗-๑๕๔, ๒๕๕๓.
– “วิทยานิพนธ์ด้านวรรณคดีแบบฉบับของไทย (ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๓๐),” วารสาร
สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ๑๖ (มีนาคม-เมษายน), หน้า ๒๐๙-
๒๓๔, ๒๕๕๓.
– “การศึกษาด้านฉันทลักษณ์ในวิทยานิพนธ์ทางวรรณคดีระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๑-๒๕๕๐.”
วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ๗ (มกราคม-มิถุนายน), หน้า ๙๕-
๑๒๗, ๒๕๕๔.
– “พหุลักษณ์ในนิราศมเหลเถไถ.” วารสารราชบัณฑิตยสถาน, ๓๖ (กรกฎาคม-กันยายน),
หน้า ๔๔๒ -๔๕๕, ๒๕๕๔.
– “สุภาษิตพระร่วง : การศึกษาเชิงประวัติ.” วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, ๓ (กรกฎาคม-ธันวาคม), หน้า ๑๒๙-๑๔๖, ๒๕๕๔.
– “พินิจกาพย์พระไชยสุริยาของสุนทรภู่.” วารสารราชบัณฑิตยสถาน, ๓๗ (เมษายน-
มิถุนายน), หน้า ๕๙-๗๔, ๒๕๕๕.
– “สุภาษิตพระร่วงคำโคลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.”
วารสารราชบัณฑิตยสถาน, ๓๘ (มกราคม-มีนาคม), หน้า ๗๖-๙๖, ๒๕๕๖.
– “สุภาษิตพระร่วง.” วรรณคดีแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.
๒๕๕๗, ๒๕๕๗.
– “นิราศเกาะจาน : บันทึกการเดินทางเปี่ยมสีสันสู่หว้ากอ.” ใน ๘๐ ปีราชบัณฑิตยสถาน.
กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า ๖๓๖-๖๖๐, ๒๕๕๗.
– “สุภาษิตศรีสวัสดิ์ : คำสอนกุลบุตรศิษย์สงฆ์.” วารสารราชบัณฑิตยสถาน, ๓๙
(กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๕๗), ๒๕๕๗.
– “ธรรมชาติในสมุทรโฆษคำฉันท์.” ๑๐๐ ปีวรรณคดีสโมสร. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรม
และประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๘, หน้า ๑๖๐-๑๗๗, ๒๕๕๗.
– “สมุทรโฆษคำฉันท์ที่แต่งในสมัยอยุธยา : วิธีการด้านเนื้อเรื่อง.” ๑๐๐ ปีวรรณคดีสโมสร.
กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, หน้า ๑๓๐-๑๕๙, ๒๕๕๗.
– “อาวาสโวหาร ภาษิตสอนชาย : ชะตากรรมในอุ้งมือสตรี.” วารสารวรรณวิทัศน์, ๑๕
(พฤศจิกายน), หน้า ๘๑-๑๐๔, ๒๕๕๘.
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)