ศาสตราจารย์รื่นฤทัย  สัจจพันธุ์

ชื่อ      ศาสตราจารย์รื่นฤทัย  สัจจพันธุ์

วัน เดือน ปี เกิด   วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓

ภาคีสมาชิก  แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๔  สาขาวิชาวรรณกรรมร้อยแก้ว 

                ประเภทวิชาวรรณศิลป์  สำนักศิลปกรรม

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา

                    –   กรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม (ฉบับปรับปรุงใหม่)
                    –   กรรมการส่งเสริมและเผยแพร่การใช้ภาษาไทย
                    –   กรรมการประมวลศัพท์ต่างประเทศที่ใช้คำไทยแทนได้
                    –   บรรณาธิการจัดทำสารานุกรมวรรณคดีไทย
                    –   บรรณาธิการจัดทำสารานุกรมวรรณกรรมไทยสมัยใหม่
                    –   กรรมการแก้ไขและเพิ่มเติมพจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย
                    –   กรรมการดำเนินงานคัดเลือกผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น

ประวัติการศึกษา

                    –   อักษรศาสตรบัณฑิต (อังกฤษ ไทย ฝรั่งเศส) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๑๓)
                    –   อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๑๕)
                    –   อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภาษาไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๓๔)

ประวัติการทำงานวิชาการ

                     อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผลงานวิชาการ

     ตำรา     มหาวิทยาลัยรามคำแหง ๖ เล่ม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ๗ หน่วย  ๕ วิชา

     งานวิจัย ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนอุดหนุนการวิจัย สกว. ๘ โครงการ
                  โดยทำหน้าที่เป็นนักวิจัยร่วม  สาขาวรรณศิลป์ ๑ โครงการ  นักวิจัยหลัก
                  สาขาวรรณศิลป์ ๕ โครงการ และเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย  ๒ โครงการ  ดังนี้
          –   โครงการวิจัย หนังสือดี ๑๐๐ ชื่อเรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน (๑๘ เดือน)
          –   โครงการวิจัย กวีนิพนธ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย : ประสบการณ์จาก
            วรรณคดีไทย อังกฤษ อเมริกัน ฝรั่งเศส และเยอรมัน
(๑ ปี)
          –   โครงการวิจัย การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย : วรรณศิลป์
            ทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง สังคีตศิลป์ ภาค ๑
และ ภาค ๒ (๖ ปี)

          –   โครงการวิจัย การวิจารณ์ในฐานะปรากฏการณ์ร่วมสมัย เพื่อพัฒนาความรู้ด้าน
            สังคมศาสตร์การวิจารณ์ ภาค ๑
และ ภาค ๒ (๓ ปี)
          –   โครงการวิจัย จิตวิญญาณประชาธิปไตยในเรื่องสั้น : ๔๐ ปี นับจาก ๑๔ ตุลาคม
            พ.ศ. ๒๕๑๖
(หัวหน้าโครงการ) (๓ ปี)
          –   โครงการวิจัย เครือข่ายการวิจารณ์ศิลปะ : การวิจัยและพัฒนา (หัวหน้าโครงการ)
              (๑๘ เดือน)

              หนังสือ
              หนังสือจากงานวิจัย
รวม ๑๐ เล่ม ได้แก่ สารานุกรมแนะนำหนังสือดี ๑๐๐ เรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน, พลังการวิจารณ์ : วรรณศิลป์, มองข้ามบ่านักเขียน : เรื่องสั้นไทยในทัศนะนักวิจารณ์, ทางสายใหม่แห่งวรรณกรรมไทย : ทัศนะต่อนวนิยายรุ่นแรก, การรับ การเสพ การบริโภคงานศิลปะ, ๒๕ ปีแห่งการวิจารณ์นวนิยายเรื่อง “คำพิพากษา” ของชาติ  กอบจิตติ, ๘๐ ปี อังคาร  กัลยาณพงศ์,จากวินทร์
ถึงปราบดาปรากฏการณ์แห่งการวิจารณ์วรรณกรรมร่วมสมัยของไทย,
วาวแสงประชาธิปไตย และจิตวิญญาณ
ประชาธิปไตยในเรื่องสั้น
: ๔๐ ปี นับจาก ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
              หนังสือวิชาการ เขียนผู้เดียว จำนวน ๒๓ เล่ม ได้แก่ อัครศิลปินแห่งแผ่นดินสยาม, อัคราภิรักษศิลปิน บารมีพระมิ่งแม่ ปกป้องศิลป์ไทย นานเทอญ, ศาสตร์และศิลป์แห่งวรรณคดี, มิใช่เป็นเพียงนางเอก, แลลอดลวดลายวรรณกรรม , วรรณคดีศึกษา, อ่านอย่าง มีเชิงชั้น วิจารณ์อย่างมีเชิงศิลป์, อ่านอย่างพินิจสาร วิจารณ์อย่างพิเคราะห์นัย,  สุนทรียภาพแห่งชีวิต, สุนทรียรสแห่งวรรณคดี, เล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน, เล่าเรื่องอิเหนา,  สังข์ทองฉบับร้อยแก้ว, นามานุกรมรามเกียรติ์, นิทานชาดก ฉบับเปรียบเทียบ, สืบสาน สร้างสรรค์วรรณศิลป์, จากเก่าสู่ใหม่ วรรณศิลป์ไทยไม่สิ้นสูญ, อ่านได้ อ่านเป็น, ชวนอ่าน   ชวนคิด พินิจวรรณกรรม
ร่วมสมัย, นัยในวรรณกรรม,  อ่านวรรณกรรม GEN Z,  ข้ามชาติ ข้ามศาสตร์ ข้ามศิลป์ และ โอกาสใหม่ในวรรณคดีศึกษา

                หนังสือวิชาการที่เขียนบทความบางบท  หรือเป็นผู้รวบรวมชำระต้นฉบับและเขียนบทวิเคราะห์  เช่น  ทอไหมในสายน้ำ ๒๐๐ ปี วรรณคดีวิจารณ์, ๒๕ ปีซีไรต์, ๒๕ ปี ๑๔ ตุลา มองผ่าน วรรณกรรมเพื่อชีวิตและภาพโดยรวมของกวีนิพนธ์เพื่อชีวิต, คดีรหัส พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, ประชุมกาพย์เห่เรือ จากสมัยอยุธยาถึงสมัย รัตนโกสินทร์, ๑๐๐ ปีวรรณคดีสโมสร, บทความเรื่องรามเกียรติ์และรุไบยาต

ความเชี่ยวชาญ     วรรณกรรมร่วมสมัย  วรรณคดีวิจารณ์

เกียรติคุณที่ได้รับ

                 –   รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาภาษาไทย  มหาวิทยาลัย
                        รามคำแหง

                  –   รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา  สาขามนุษยศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๕๘)

                    –   นิสิตเก่าอักษรศาสตร์ดีเด่น (พ.ศ. ๒๕๕๘)

                    –   ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย กระทรวงวัฒนธรรม (พ.ศ. ๒๕๕๘)

                    –   ผู้สนับสนุนการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
                        รับพระราชทานเข็มเกียรติคุณวันอนุรักษ์มรดกไทย (พ.ศ. ๒๕๕๘)
                    –   อาจารย์ดีเด่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง (พ.ศ. ๒๕๕๕)
                    –   เมธีวิจัยอาวุโส สกว. สาขาวรรณคดีไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
                        (พ.ศ. ๒๕๕๔)
                    –   อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ สาขามนุษยศาสตร์และศิลปศาสตร์ จากที่ประชุมประธานสภา
                        อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) (พ.ศ. ๒๕๕๓)
                    –   ผู้ทำคุณประโยชน์แก่กระทรวงวัฒนธรรม (พ.ศ. ๒๕๕๓)
                    –   ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น กระทรวงวัฒนธรรม (พ.ศ. ๒๕๕๒)
                    –   ครูภาษาไทยดีเด่น ระดับอุดมศึกษา (พ.ศ. ๒๕๔๑)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์         –         มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
          –         เหรียญราชอิสริยาภรณ์ เหรียญจักรพรรดิมาลา