ราชบัณฑิต โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ สาขาวิชาภาษาศาสตร์ ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สำนักศิลปกรรม
ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
– ราชบัณฑิตที่ปรึกษา (๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘-๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐)
ประวัติการศึกษา
– อักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษและสาขาวิชาปรัชญา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๑๖)
– อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(พ.ศ. ๒๕๑๙)
– MS in Linguistics มหาวิทยาลัย Georgetown, สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๒๖)
– PhD in Linguistics มหาวิทยาลัย Georgetown, สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๒๙)
ประวัติการทำงานวิชาการ
– ศาสตราจารย์กิตติคุณ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิชาการ ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ผู้ทรงคุณวุฒิ
ทางวัฒนธรรม และราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ผลงานวิชาการ
– ผู้แปลรายงานวิจัยเรื่อง Report on the First Decade of Primary Health Care in
Thailand (1978–1987) จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ตามความต้องการของ
กระทรวงสาธารณสุข เพื่อเสนอต่อ WHO และ UNICEF
– ผู้แปล Thailand Health Profile 1994 จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ตามความ
ต้องการของกระทรวงสาธารณสุข
– ผู้เขียนข้อมูล Thai False Friends ใน Cambridge International Dictionary of
English (1995)
– ตำราภาษาอังกฤษ
• ตำราเรื่อง กริยาในภาษาอังกฤษ ใช้ประกอบในรายวิชาภาษาอังกฤษตามหลักสูตรของ
สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• ตำราเรื่อง ศัพทสารานุกรม ใช้ประกอบในรายวิชาภาษาอังกฤษตามหลักสูตรของ
สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• ตำราเรื่อง ประโยคภาษาอังกฤษ ใช้ประกอบในรายวิชาภาษาอังกฤษตามหลักสูตรของ
สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• ตำราเรื่อง คำภาษาอังกฤษ : ตัวสะกดและวิธีออกเสียง ใช้ประกอบในรายวิชา
ภาษาอังกฤษตามหลักสูตรของสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– ในฐานะผู้แปลงานธรรมนิพนธ์ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
• พระไตรปิฎก : สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้ / The Pali Canon: What a Buddhist Must
Know
• วินัยชาวพุทธ / The Buddhist’s Discipline
• หลักสูตรอารยชน / A Curriculum for Civilized People
• อมฤตพจนา : พุทธศาสนสุภาษิต / The Nectar of Truth: A Selection of
Buddhist Aphorisms
• ธรรมะทวิพากย์ / Dhamma Bilingualized – ประมวลหนังสือแปลธรรมนิพนธ์ของ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ข้อเขียน
และบทแปลที่เกี่ยวข้องกับธรรมะ (ไทย–อังกฤษ และอังกฤษ–ไทย) และบทความเรื่อง
“การแปลเชิงวิชาการ”
– ในฐานะผู้ตรวจงานแปลธรรมนิพนธ์ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
• ธรรมนูญชีวิต / A Constitution for Living (Mr. Bruce Evans เป็นผู้แปล
โดย รศ. ดร.สมศีล ฌานวังศะ เป็นผู้ตรวจและแปลใหม่ในบางตอน)
• พัฒนาสังคมไทย ด้วยความรู้เข้าใจเรื่องไตรภูมิ / Developing Thai Society with
a Thorough Knowledge and Understanding of the Three Planes
(ศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศรี เลขะวัฒนะ เป็นผู้แปล โดยศาสตราจารย์ ดร.สมศีล
ฌานวังศะ เป็นผู้ตรวจ และเขียนบันทึกท้ายเล่ม)
• หลักชาวพุทธ / The Buddhist’s Tenets (ศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศรี เลขะวัฒนะ
เป็นผู้แปล และศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมศีล ฌานวังศะ เป็นผู้ตรวจ)
• ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา / Characteristics of Buddhism (ศาสตราจารย์
ดร.พงษ์ศรี เลขะวัฒนะ ผู้แปล โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมศีล ฌานวังศะ เป็น
ผู้ตรวจและเขียนบันทึกท้ายเล่ม)
– ในฐานะผู้เขียนบันทึกท้ายเล่มในภาคผนวก
• นักวิชาการเทศ–ไทย หาความรู้ให้แน่ ใช่แค่คิดเอา ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
(ป. อ. ปยุตฺโต)
– ในฐานะผู้แปลธรรมะของพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) ตามคำขอของ
พระปัญญานันทมุนี (สง่า สุภโร) เจ้าอาวาสวัดปัญญานันทาราม (ปัจจุบันเป็น
เจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์)
• ปัญญาวาทะ / Words of Wisdom
– เคยเป็นเจ้าของคอลัมน์ “ภาษาน่ารู้” ในหนังสือพิมพ์ มติชนสุดสัปดาห์ โดยเขียน
บทความด้านภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาศาสตร์ เพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป
บทความวิชาการที่เผยแพร่ผ่านคอลัมน์ “ภาษาน่ารู้” และที่เผยแพร่ในที่อื่น ๆ รวมทั้งสิ้น
มากกว่า ๒๐๐ ตอน/เรื่อง
เกียรติคุณที่ได้รับ
– นิสิตเก่าดีเด่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำ พ.ศ. ๒๕๕๖
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ – มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
– มหาวชิรมงกุฎ