นายไพโรจน์  ทองคำสุก

ราชบัณฑิต   โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙  สาขาวิชานาฏกรรมไทย  ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์  สำนักศิลปกรรม

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา

                    –   เลขานุการ สำนักศิลปกรรม
                    –   ประธานคณะบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมศัพท์นาฏศิลป์ไทย
                    –   กรรมการสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา

ประวัติการศึกษา

                    –   ศึกษาศาสตรบัณฑิต (นาฏศิลป์ไทย) วิทยาลัยนาฏศิลป์สมทบ วิทยาลัยเทคโนโลยี
                        และอาชีวศึกษา (พ.ศ. ๒๕๒๗)
                    –   ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานาฏยศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
                        มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๓๘)
                    –   ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขานาฏยศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
                        มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๕๐)

ผลงานวิชาการ

                    ตำรา
                    –   พระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย, ๒๕๕๐

                    บทความ
                    –   สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับนาฏศิลป์ไทย นิตยสารศิลปากร, ๒๕๕๖
                    –   อิทธิพลของพระจันทร์กับนาฏศิลป์ไทย วารสารราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๗
                    –   การแปลงตัวเปลี่ยนร่างในนาฏกรรมโขน วารสารราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๗

                    งานประพันธ์
                    –   บทขับร้องรำถวายพระพรเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา
                        สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ราชบัณฑิตยสภา โดยสหวิทยาการ
                        ณ เมืองทองธานี วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘

                    งานวิจัย
                    –   ครูจำเรียง  พุธประดับ ศิลปินแห่งชาติ รูปแบบความเป็นครูผู้ถ่ายทอดนาฏศิลป์ไทย
                        แบบโบราณ กรมศิลปากร, ๒๕๔๖
                    –   ครูเสรี  หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ รูปแบบความเป็นครูผู้ถ่ายทอด และสร้างสรรค์
                        นาฏศิลป์ไทย กรมศิลปากร, ๒๕๔๘
                    –   ครูศิริวัฒน์  ดิษยนันทน์ ศิลปินแห่งชาติ ต้นแบบของศิลปินชั้นครูผู้ถ่ายทอด และ
                        สร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทย กรมศิลปากร, ๒๕๔๙

เกียรติคุณที่ได้รับ

                    –   รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๓ จากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
                        นายกรัฐมนตรี เรื่องแนวคิด และวิธีแสดงโขนลิง จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัย
                        แห่งชาติ (วช.)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

                        ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (พ.ศ. ๒๕๔๘)