รองศาสตราจารย์จินตนา  ดำรงค์เลิศ

ราชบัณฑิต   โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕  สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ ประเภทวิชาวรรณศิลป์  สำนักศิลปกรรม

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา

                    –   ประธานกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม
                    –   บรรณาธิการจัดทำสารานุกรมไทย
                    –   บรรณาธิการจัดทำสารานุกรมวรรณคดีไทย
                    –   บรรณาธิการจัดทำสารานุกรมวรรณกรรมไทยสมัยใหม่
                    –   กรรมการประมวลศัพท์และสำนวนต่างประเทศที่ใช้คำไทยแทนได้
                    –   กรรมการส่งเสริมและเผยแพร่การใช้ภาษาไทย

ประวัติการศึกษา

                    –   อักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๒) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๑๔)
                    –   อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (วรรณคดีสมัยใหม่) มหาวิทยาลัยตูลูซ, ประเทศฝรั่งเศส
                        (พ.ศ. ๒๕๑๕)
                    –   อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วรรณคดีฝรั่งเศส) (เกียรตินิยมดีมาก) มหาวิทยาลัยตูลูซ,
                        ประเทศฝรั่งเศส (พ.ศ. ๒๕๑๗)
                    –   ประกาศนียบัตรชั้นสูงด้านการสอนภาษาฝรั่งเศสแก่คนต่างชาติ มหาวิทยาลัยมงแปลีเย,
                        ประเทศฝรั่งเศส (พ.ศ. ๒๕๒๑)

ผลงานวิชาการ

                    –   การเมืองฝรั่งเศสสมัยสาธารณรัฐที่ ๕. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
                        มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๑.
                    –   วรรณคดีฝรั่งเศสสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗. พิมพ์ครั้งที่ ๒ กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
                        มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๖.

                 บทความ
                    –   “๑๐๐ ปีชาตกาลของชอง-ปอล ซาตร์”, วารสารราชบัณฑิตยสถาน, ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๔
                        ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๔๘.
                    –   “มนุษยนิยมในบทละครเรื่องซาตานกับพระผู้เป็นเจ้า”, วารสารราชบัณฑิตยสถาน,
                        ปีที่ ๓๔ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๒.
                    –   “ดอนฆวนฉบับมอลีแยร์ : หนุ่มเจ้าสำราญผู้ตกขุมไฟประลัยกัลป์”, วารสาร
                        ราชบัณฑิตยสถาน
, ปีที่ ๓๕ ฉบับที่ ๒ เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๓.
                    –   “เอร็อสทรัต : กรณีศึกษาตัวเอกปฏิลักษณ์”, วารสารราชบัณฑิตยสถาน, ปีที่ ๓๖
                        ฉบับที่ ๔ ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๔.
                    –   “อ็องเดร มาสโร กับโลกศิลปะ”, วารสารราชบัณฑิตยสถาน, ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒
                        เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๕.
                    –   “ขบวนการกรรมกรและสหภาพแรงงานในฝรั่งเศส”, วารสารราชบัณฑิตยสถาน, ปีที่ ๓๗
                        ฉบับที่ ๔ ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๕.

                    –   “โลกทัศน์ และคำสอนของ ลา ร็อชฟูโก”, วารสารราชบัณฑิตยสถาน, ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๑
                        มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖.
                    –   “นวนิยายสะท้อนสังคมเรื่อง Germinal,” วารสารราชบัณฑิตยสถาน, ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓
                        กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๕๗.

เกียรติคุณที่ได้รับ

                    –   รางวัลที่ ๑ มอบให้แก่ผู้สอบได้คะแนนสูงสุด หมวดวิชาภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศส
                        จากสำนักวัฒนธรรมฝรั่งเศส เมื่อจบเป็นอักษรศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
                        ๒๕๑๔
                    –   ครูภาษาฝรั่งเศสดีเด่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ คุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์                     มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. ๒๕๕๘