ศาสตราจารย์ชลดา  เรืองรักษ์ลิขิต

ราชบัณฑิต   โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒  สาขาวิชาวรรณกรรมร้อยกรอง ประเภทวิชาวรรณศิลป์  สำนักศิลปกรรม

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา

                    –   กรรมการส่งเสริมและเผยแพร่การใช้ภาษาไทย
                    –   กรรมการประมวลศัพท์ต่างประเทศที่ใช้คำไทยแทนได้
                    –   กรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย
                    –   กรรมการคัดเลือกผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น
                    –   กรรมการจัดทำคำอธิบายถ้อยคำภาษาไทย
                    –   กรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์พื้นฐานวัฒนธรรมไทย
                    –   บรรณาธิการจัดทำสารานุกรมวรรณกรรมไทย
                    –   บรรณาธิการจัดทำวารสารราชบัณฑิตยสภา

ประวัติการศึกษา

                    –   อักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) (ภาษาไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๑๗)
                    –   อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๑๙)
                    –   อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภาษาไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๓๕)
                    –   ประกาศนียบัตรการศึกษาอบรมตามหลักสูตรภาษาเขมรระดับสูงสำหรับอาจารย์
                        ระดับอุดมศึกษาจากทบวงมหาวิทยาลัย
                    –   ประกาศนียบัตรการศึกษาอบรมภาษาเขมรจากมหาวิทยาลัยพนมเปญ

ผลงานวิชาการ

                    –   “Khun Suwan : A Reflection of Unusual Life of Court Ladies Through
                        the Eyes of an Exceptional Woman Poet” The Journal of the
                        Faculty of Arts,
Mahidol University, 1 (January 2005) : 49-60.
                    –   “The Significance of Salahoen and Kaikaeo in Lilit Phra Lo” MANUSYA
                        Journal of Humanities Vol. 12 No. 1 (2009) : 1-10.
                    –   อ่านสุภาษิตพระร่วง ฉบับวิเคราะห์และถอดความ. (๒๕๔๙). กรุงเทพฯ : โครงการ
                        เผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๑๙๓ หน้า.
                    –   “ความรักหลากหลายมิติในลิลิตตะเลงพ่ายกับภาพลักษณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
                        วีรบุรุษต้นแบบ” วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๒ ฉบับที่ ๓ (กรกฎาคม-กันยายน
                        ๒๕๕๐), หน้า ๖๑๑-๖๒๘.
                    –   “เสี่ยงน้ำในวรรณคดีไทย” น้ำคือชีวิต วารสารราชบัณฑิตยสถานฉบับพิเศษ
                        เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา.
                        กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์, ๒๕๕๑, หน้า ๓๑๐-๓๔๒.
                    –   กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่นิราศแรมรสร้าง (๒๕๕๒). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
                        แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๓๗๒ หน้า.
                    –   “นวัตกรรมในโคลงของสุนทรภู่” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
                        ราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๕), หน้า ๒๙-๕๗.
                    –   นิราศสุพรรณ: ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของสุนทรภู่ในการแต่งโคลงสี่สุภาพ
                        (๒๕๕๕). กรุงเทพฯ : บริษัท ธนาเพรส จำกัด, ๕๕๐ หน้า.
                    –   “คำภาษาเขมรกับวรรณศิลป์ในสมุทรโฆษคำฉันท์” กตเวที ๑๐๐ ปีศาสตราจารย์กิตติคุณ
                        ฉลวย  วุธาทิตย์
 บรรณรฦก  ศตวัสสา ศาสตราจารย์กิตติคุณ ฉลวย วุธาทิตย์.
                        กรุงเทพฯ : คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๖, หน้า ๑๔๔-๑๗๔.
                    –   “นิราศภูเขาทอง : การเดินทางที่นำไปสู่การยอมรับชะตากรรมของกวี” ๘๐ ปี
                        ราชบัณฑิตยสถาน.
กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาส
                        คล้ายวันสถาปนาราชบัณฑิตยสถานครบ ๘๐ ปี, ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗, หน้า ๖๖๒-๖๘๐.
                    –   “ปันหยีมิสาหรัง : บทละครเรื่องอิเหนาอีกสำนวนหนึ่งของไทย” วารสาร
                        ราชบัณฑิตยสถาน
ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ (กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๕๗), หน้า ๒๑๔-๒๓๗.
                    –   “รักร่วมเพศในงานของสุนทรภู่” สุนทรภู่ อาลักษณ์นักเลงทำเพลงยาว. กรุงเทพฯ :
                        สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, ๒๕๕๗, หน้า ๕๐-๘๐.
                    –   “ความดีและความงามในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จ
                        พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” บทความเรื่องรามเกียรติ์ กรุงเทพฯ : คณะกรรมการ
                        วรรณคดีแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๕๘, หน้า ๓๐-๑๐๙.
                    –   วรรณลลิต รวมบทความวิจัยวรรณคดีและคำประพันธ์ไทย (๒๕๕๘). พิมพ์ครั้งที่ ๒.
                        กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
                        มหาวิทยาลัย, ๒๒๔ หน้า.
                    –   “เสน่ห์ในเรื่องลิลิตพระลอ” ๑๐๐ ปีวรรณคดีสโมสร. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการวรรณคดี
                        แห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๕๘, หน้า ๕๓-๘๗.
                    –   อ่านนิราศนรินทร์ฉบับวิเคราะห์และถอดความ (๒๕๕๘). กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่
                        ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๓๑๒ หน้า.
                    –   อ่านลิลิตพระลอฉบับวิเคราะห์และถอดความ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม) (๒๕๕๙).
                        พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : บริษัท ธนาเพรส จำกัด, ๕๘๖ หน้า.

เกียรติคุณที่ได้รับ

                    –   ครูภาษาไทยดีเด่น ระดับอุดมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร จากกระทรวงศึกษาธิการ
                        (พ.ศ. ๒๕๔๔)
                    –   อาจารย์ดีเด่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                        (พ.ศ. ๒๕๔๔)
                    –   ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น จากกระทรวงวัฒนธรรม (พ.ศ. ๒๕๕๕)
                    –   ผู้มีผลงานดีเด่น สาขาภาษาไทย จากมูลนิธิจำนงค์ ทองประเสริฐ  มหาวิทยาลัย
                        มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๕๗)
                    –   อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ  สาขามนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ ของที่ประชุม
                        ประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) (พ.ศ. ๒๕๕๗)
                    –   นิสิตเก่าอักษรศาสตร์ดีเด่น จากสมาคมนิสิตเก่าอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                        (พ.ศ. ๒๕๕๘)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์           มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก