รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์

ภาคีสมาชิก        แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓

                      สาขาวิชาดุริยางคกรรมไทย ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์  สำนักศิลปกรรม

ประวัติการศึกษา

          – ป.นาฏศิลป์ชั้นสูง สาขาวิชาดุริยางค์ไทย, นาฏศิลป์โขน (ลิง) จากวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร (พ.ศ. ๒๕๑๗)

          – การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้ (พ.ศ. ๒๕๒๐)

          – การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) สาขาวิชาการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้ (พ.ศ. ๒๕๒๖)

          – ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) สาขาวิชาวัฒนธรรมการดนตรี มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. ๒๕๓๔)

          – ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชดนตรีวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. ๒๕๕๓)

          – ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปร.ด.) สาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยบูรพา (พ.ศ. ๒๕๖๓)

ประวัติการทำงานทางวิชาการ

          – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาดนตรีศึกษา แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๒๘

          – รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาดนตรี แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕

ผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการ

          – ผู้ทรงคุณวุฒิ: ในคณะกรรมการด้านวิจัยทางวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม (๑๑ ม.ค. ๒๕๖๒ – ปัจจุบัน)

          – ผู้ทรงคุณวุฒิ: ในคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม (๓๑ ก.ค. ๒๕๖๓ – ปัจจุบัน)

          – ผู้ทรงคุณวุฒิ: ในคณะกรรมการสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (๒๑ ก.ย. ๒๕๖๓ – ปัจจุบัน)

          – ผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการกิจกรรมโรงเรียนดนตรีไทย ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ กระทรวงวัฒนธรรม (๘ ต.ค. ๒๕๖๓ – ปัจจุบัน)

          – ผู้ทรงคุณวุฒิ: ในคณะกรรมการประจำวิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (๑๗ มิ.ย. ๒๕๖๔ – ปัจจุบัน)

          – ผู้ทรงคุณวุฒิ: ในคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (๒๓ ก.ย. ๒๕๖๔ – ปัจจุบัน)

          – ประธานกรรมการ: ในคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินผลการการปฏิบัติงาน (ด้านที่ ๓)
ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรุงเทพมหานคร เพื่อเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ (๒ ส.ค. ๒๕๖๔ – ปัจจุบัน)

          – ประธานกรรมการ: ในคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินผลการการปฏิบัติงาน (ด้านที่ ๓)
ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรุงเทพมหานคร เพื่อเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ (๒ ส.ค. ๒๕๖๔ – ปัจจุบัน)

          – ผู้ทรงคุณวุฒิ: ในคณะกรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (๒๓ มี.ค. ๒๕๖๔ – ปัจจุบัน)

          – ผู้ทรงคุณวุฒิ: ในคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ สถาบันดนตรีกัลป์ยาณิวัฒนา (๒๘ ก.พ. ๒๕๖๕ – ปัจจุบัน)

          – ผู้ทรงคุณวุฒิ: ในคณะกรรมการประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (๑๗ ก.ค. ๒๕๖๗ – ปัจจุบัน)

ผลงานวิชาการ/ วิชาชีพที่สำคัญ

ผลงานทางวิชาการ

          ด้านวิชาการ มีงานวิจัยด้านดนตรี หนังสือด้านดนตรี ตำราดนตรี บทความทางวิชาการดนตรี

ด้านดุริยางคกรรมไทย มีงานประพันธ์เพลงไทย: เพลงกาญจนภูมินทร์ (พ.ศ. ๒๕๓๙) เพลงพญานาคเถา (วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๗) เพลงโหมโรงสาธุการ (วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๙) เพลงนางพญาเสือดำ (วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑) เพลงผกาภิรมย์ (วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๑) เพลงตับ เรื่อง “หมูป่า ขุนน้ำนางนอน” (วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.  ๒๕๖๑) ประกอบด้วยเพลงกราวหมูป่า เพลงหมูป่าเข้าถ้ำ เพลงขุนน้ำนางนอน เพลงซีล ฮูย่า เพลงจ่าแซม เพลงผู้ว่าฯ สั่งการ เพลงล้านนารวมใจ เพลงตะลุงรังนก เพลงพลังจิตอาสา เพลงวิเทศแกล้วกล้า เพลงหมูป่าลาถ้ำ เพลงรัวหมูป่าเพลงพระพิฆเนศายะ (วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒) เพลงทองดีปสิทฺธิ (วันที่๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๕) เพลงพรนฤมิต (วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๕) เพลงพรมงคล ๓ ชั้น (วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖) เพลงพรมพร (วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖) เพลงภูคำ (วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖)เพลงนบพระธาตุ  (วันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗)

ความเชี่ยวชาญ   ดุริยางคกรรมไทย นาฏศิลป์ไทย

เกียรติคุณและรางวัลที่ได้รับ

รางวัลผลงานประพันธ์ “เพลงกาญจนภูมินทร์”(พ.ศ. ๒๕๓๙) อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ สาขามนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ ประจำปี ๒๕๔๖ รางวัล “วัฒนคุณาธร” (พ.ศ. ๒๕๕๕) รางวัล ศาสตรเมธี สาขามนุษยศาสตร์ (ดนตรีไทย) ประจำปี ๒๕๖๑ รางวัลเชิดชูเกียรติ ประจำปี ๒๕๖๔ (Mahidol Music Honor Awards 2021) สายวิชาการ รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประเภทความโดดเด่นเฉพาะทาง สาขาความเป็นครู (พ.ศ. ๒๕๖๕) รางวัลศิษย์เก่าวิทยาลัยนาฏศิลปดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๕ ด้านการสร้างคุณประโยชน์เพื่อวิทยาลัยนาฏศิลป (พ.ศ. ๒๕๖๕) เข็มเครื่องหมายมหาวิทยาลัยมหิดล ชั้นพิเศษ ๒๕ ปี (ทองคำ) (พ.ศ. ๒๕๖๗)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์     

มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก      ม.ป.ช. ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖

มหาวชิรมงกุฎ                 ม.ว.ม. ๕ ธันวาคม ๒๕๔๘