ศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร

ภาคีสมาชิก        แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๒๓ เดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓

                      สาขาวิชาดุริยางคกรรม ประเภทวิจิตรศิลป์ สำนักศิลปกรรม

ประวัติการศึกษา

          – ค.บ. (ดนตรีศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๗

          – M.Mus (Piano Performance) Northwestern University, USA พ.ศ. ๒๕๒๙

          – M.Mus (Music Composition) Michigan State University, USA พ.ศ. ๒๕๓๐

          – Ph.D. (Music Composition) Michigan State University, USA พ.ศ. ๒๕๓๓

ประวัติการทำงานวิชาการ/วิชาชีพ

คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          – อาจารย์ พ.ศ. ๒๕๓๔

          – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาดุริยางคศิลป์ (การประพันธ์เพลง) พ.ศ. ๒๕๓๙

          – รองศาสตราจารย์ สาขาดุริยางคศิลป์ (การประพันธ์เพลง)  พ.ศ. ๒๕๔๓

          – ศาสตราจารย์ สาขาดุริยางคศิลป์ (การประพันธ์เพลง) พ.ศ. ๒๕๕๓

          – ศาสตราจารย์ระดับ ๑๑ (A-1) สาขาดุริยางคศิลป์ (การประพันธ์เพลง) พ.ศ. ๒๕๖๑

ผลงานวิชาการ/วิชาชีพที่สำคัญ

          ศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล-ประพันธ์เพลงคลาสสิก) พุทธศักราช ๒๕๖๔  เป็นนักประพันธ์เพลงคลาสสิกร่วมสมัยคนสำคัญของประเทศไทย มีผลงานการประพันธ์เพลงที่เป็นเอกลักษณ์ คือการผสมผสานลักษณะที่โดดเด่นของดนตรีไทยและดนตรีอาเซียนให้เข้ากับการประพันธ์เพลงคลาสสิคร่วมสมัยตะวันตก จนเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติต่อเนื่องยาวนานเกือบ ๕๐ ปี ผลงานเป็นบทเพลงคลาสสิคขนาดใหญ่ที่มีความละเอียดปราณีตในการประพันธ์ ผลงานได้แก่ ซิมโฟนีสำหรับวงออร์เคสตรา ๙ บท คอนแชร์โต ๙ บท ซิมโฟนิกโพเอ็ม ๑๔ บท และงานดนตรีสำหรับวงเชมเบอร์จำนวนมาก ผลงานของดร.ณรงค์ฤทธิ์ได้ประพันธ์ขึ้นในวาระสำคัญของประเทศหลายเพลง และได้รับการเผยแพร่โดยวงดุริยางค์ซิมโฟนีระดับชาติและนานาชาติจำนวนมาก เช่น Royal Bangkok Symphony Orchestra, Thailand Philharmonic Orchestra, Athens State Orchestra, Hiroshima Symphony Orchestra, Japan Shinsei Symphony Orchestra, Southwest German Chamber Orchestra, Cyprus Symphony Orchestra, New York New Music Ensemble, Civic Orchestra of Chicago  เป็นต้น นับเป็นผู้บุกเบิกการประพันธ์เพลงคลาสสิกร่วมสมัยของไทยให้ทัดเทียมนานาประเทศ นอกจากนั้นยังได้สร้างแรงบันดาลใจและเป็นแบบอย่างให้กับนักประพันธ์เพลงคลาสสิกร่วมสมัยอื่น ๆ เป็นผู้สร้างนักประพันธ์เพลงและบุคลากรทางดนตรีที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จออกไปสู่สังคมไทย  นับได้ว่าเป็นคุณูปการให้แก่วงการดนตรีสากลของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับรางวัลศิลปาธร สาขาดนตรี ประจำปีพ.ศ. ๒๕๕๑ ต่อมาจึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๔

ความเชี่ยวชาญ

          – การประพันธ์เพลงคลาสสิก

          – ทฤษฎีดนตรีสากล

เกียรติคุณที่ได้รับ

          – ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง – การประพันธ์เพลงคลาสสิก พ.ศ. ๒๕๖๔

          – ภาคีสมาชิก สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๕๖๓

          – รางวัลศิลปาธร สาขาดนตรี ประจำปี ๒๕๕๑ จากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม

          – รางวัล “ศิษย์เก่าเกียรติยศ” จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๕

          – รางวัล “เกียรติภูมิครุฯ จุฬาฯ” จากสมาคมครุศาสตร์สัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๕       – รางวัล “ศิษย์เก่าดีเด่น” จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน พ.ศ. ๒๕๖๕

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

          – มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๓)

          – มหาวชิรมงกุฎ (๕ ธันวาคม ๒๕๕๕)