นางสาวนิตยา  กาญจนะวรรณ

ราชบัณฑิต   โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙  สาขาวิชาภาษาไทย ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สำนักศิลปกรรม

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา (๒๕๒๙-๒๕๖๓)

          –   กรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

          –   กรรมการปรับปรุงวิธีการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน

          –   รองประธานคณะกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์การถอดอักษรภาษาตระกูลไท
                        (Tai Language Family) เป็นอักษรโรมัน

          –   กรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ประยุกต์)

          –   กรรมการดำเนินงานด้านวิชาการเพื่อส่งเสริมและเผยแพร่การใช้ภาษาไทย

          –   กรรมการจัดทำหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาเวียดนาม

          –   รองประธานคณะกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาเกาหลี

          –   ประธานคณะกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาดัตช์  ภาษาพม่า 
                        และภาษาฟิลิปปินส์

          –   รองประธานคณะกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

          –   กรรมการจัดทำพจนานุกรมฉบับนักเรียน

          –   กรรมการจัดทำนโยบายภาษาแห่งชาติ

          –   บรรณาธิการสำนักศิลปกรรม คณะผู้จัดทำวารสารราชบัณฑิตยสถาน 

          –   กรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  

          –   กรรมการจัดทำคำอธิบายถ้อยคำภาษาไทย  

          –   กรรมการดำเนินงานเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก  

          –   กรรมการจัดระบบเขียนภาษาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยอักษรไทย  

          –   ประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจจัดทำเนื้อหาด้านภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน 

          –   รองประธานคณะกรรมการจัดทำฐานข้อมูลคำในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสภา  

          –   รองประธานคณะกรรมการนโยบายการศึกษาวิจัยโครงการประเทศไทยในอนาคต
                        ประเด็นวัฒนธรรมและภาษาไทย (อัตลักษณ์ความเป็นไทย)

          –   กรรมการดำเนินการศึกษาวิจัยโครงการประเทศไทยในอนาคต ประเด็นวัฒนธรรม
                        และภาษาไทย (อัตลักษณ์ความเป็นไทย)

          –   กรรมการบัญญัติศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับหลายสาขาวิชาและที่จำเป็นเร่งด่วน

ประวัติการศึกษา

                    –   อักษรศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                    –   อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                    –   M.A. (English) Florida State University

                    –   M.A. (Linguistics) The University of Texas at Austin

                    –   Ph.D. (Applied Linguistics) The University of Texas at Austin

ประวัติการทำงานวิชาการ

                    –   รองศาสตราจารย์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
                    –   ศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัย Tenri, Nara, Japan

–   Scholar in Residence, Center for Southeast Asian Studies, Southeast Asian
                        Summer Institute (SEASSI), Northern Illinois University, DeKalb, USA

ประวัติการทำงานวิชาชีพ

                 –   Programmer, System Development Corporation (SDC), Advanced Research
                        Projects Agency
(ARPA)

ประวัติการทำงานบริหาร

                    –   ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
                        (๒๕๒๒-๒๕๒๖)

–   หัวหน้าภาควิชาไทยศาสตร์ Dept. of Thai Studies,  Faculty of International                       Culture Studies, Tenri University,  Tenri, Nara,  JAPAN  (๑ เมษายน ๒๕๓๙–๓๑            มีนาคม ๒๕๔๐)

ผลงานวิชาการ

–   ตำรามหาวิทยาลัยรามคำแหงและมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ๑๓ เล่ม

–   หนังสือทั่วไป ๑๕ เล่ม

–   บทความวิชาการประมาณ ๑๐๐ เรื่อง

–   ผลงานในสื่อมวลชน คอลัมน์ “มองไทยใหม่” มติชนสุดสัปดาห์ (๒๕๓๙-ปัจจุบัน)

ความเชี่ยวชาญ

                    –   ภาษาไทย การสอนภาษาไทยให้ต่างชาติ  ภาษาศาสตร์  ภาษาศาสตร์ประยุกต์
                        (ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์)

เกียรติคุณที่ได้รับ

                    –   ผลงานวิจัยดีเยี่ยมประจำปี ๒๕๑๘ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับ
                        นายอุดม  วโรตม์สิกขดิตถ์ และนายเดวิด  ลอนดี (David  Londe) จากงานวิจัยเรื่อง
                        การถ่ายทอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันด้วยคอมพิวเตอร์
                    –   รางวัลชมเชยประเภทสารคดี การประกวดหนังสือดีเด่น พ.ศ. ๒๕๓๔ ของ
                        กระทรวงศึกษาธิการ จากหนังสือเรื่อง คุยกันฉันคอมพิวเตอร์
                    –   ครูภาษาไทยดีเด่น กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๘
                    –   ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๕๕

เครื่องราชอิสริยาภรณ์           –         มหาวชิรมงกุฎ