ภาคีสมาชิก แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๔ เดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีต่างประเทศตะวันตกประเภทวิชาวรรณศิลป์สำนักศิลปกรรม
ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
– ผู้แทนสำนักศิลปกรรมในคณะกรรมการสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา ราชบัณฑิตยสภา (พ.ศ. ๒๕๖๔)
– กรรมการดำเนินงานจัดทำวารสารของสำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา (พ.ศ. ๒๕๖๔ – พ.ศ.๒๕๖๕)
– กรรมการดำเนินงานจัดทำ Newsletter ราชบัณฑิตยสภา (พ.ศ. ๒๕๖๕ – พ.ศ. ๒๕๖๖)
และ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป)
– กรรมการดำเนินงานจัดทำวารสารราชบัณฑิตยสภา (๔ กรกฎาคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป)
– กรรมการประมวลศัพท์และสำนวนต่างประเทศที่ใช้คำไทยแทนได้ (๗ มิถุนายน ๒๕๖๗ เป็นต้นไป)
ประวัติการศึกษา
– ปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (เกียรตินิยม) จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๒๔)
– ปริญญาโท สาขา Linguistics and EFL จาก Southern Illinois University at Carbondale
รัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๒๖)
– ปริญญาเอก Linguistics (Concentration: Applied Linguistics), Georgetown University วอชิงตันดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๔๖)
ประวัติการทำงานวิชาการ/วิชาชีพ
– อาจารย์ ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปการ (พ.ศ. ๒๕๒๗ – พ.ศ. ๒๕๓๓)
– ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
(พ.ศ. ๒๕๓๓ – พ.ศ. ๒๕๔๐)
– รองศาสตราจารย์ ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
(พ.ศ. ๒๕๔๐ – พ.ศ. ๒๕๕๕)
– ศาสตราจารย์ ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
(พ.ศ. ๒๕๕๕ – พ.ศ. ๒๕๖๐)
– ศาสตราจารย์ (ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น)ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. ๒๕๖๐ – พ.ศ. ๒๕๖๓)
– ศาสตราจารย์ (ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น)สาขาวิชาการจัดการธุรกิจและภาษา
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. ๒๕๖๓ – ปัจจุบัน)
ประวัติการทำงานบริหาร
– ตัวแทนอาจารย์ในกรรมการประจำคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. ๒๕๕๔ – พ.ศ. ๒๕๕๖)
– กรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. ๒๕๕๘ – พ.ศ. ๒๕๕๙)
ผลงานวิชาการ/วิชาชีพที่สำคัญ
– Keynote speaker ในการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติและระดับชาติมากกว่า ๔๖ ครั้ง
– บทความวิจัยในฐานข้อมูล Scopus มากกว่า ๒๐ รายการ
– ตำราเรียนที่สำคัญ Pronunciation in Action และ English Sociolinguistics at Work
– การบรรยายทางวิชาการให้แก่สถาบันการศึกษาระดับต่างๆ ทั้งของรัฐบาลและหน่วยงานเอกชน
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน
– กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการสภาวิชาการ กรรมการพิจารณาตำแหน่งผลงาน วิชาการและวิชาชีพ และกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการด้านรับใช้ท้องถิ่นและสังคม
ของหลายมหาวิทยาลัยในไทย
– กรรมการประเมินวารสารวิชาการไทยในฐานข้อมูล TCI เพื่อรับการพิจารณาเข้าสู่ฐานข้อมูล Scopus
ความเชี่ยวชาญ
– ภาษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ประยุกต์ การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ
เกียรติคุณที่ได้รับ
– จากมหาวิทยาลัยศิลปากรในฐานะทำชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัยทั้งในรูปแบบของ “เกียรติบัตร ศิลปากรสร้างสรรค์” ระดับนานาชาติรวมมากกว่า ๒๒ ฉบับ เข็มที่ระลึกประจำปีพ.ศ. ๒๕๖๔
และเกียรติบัตร “ข้าราชการพลเรือนดีเด่น” ในวาระวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากร
ประจำปีพ.ศ. ๒๕๕๘ และ ๒๕๕๙
– จากมหาวิทยาลัยศิลปากรเกี่ยวกับผลงานวิจัย เช่น นักวิจัยสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ที่มีผลงานวิจัยปรากฏในฐานข้อมูล Scopus ระดับ Q1 ระหว่างปีพ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๕
และนักวิจัยดีเด่นประจำปี ๒๕๖๓
– จากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี “ค่าของแผ่นดิน” ประเภทบุคคล ด้านการส่งเสริมพัฒนา การศึกษา จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ประจำปีพ.ศ. ๒๕๖๔
– จาก สกว. ตำแหน่ง “เมธีวิจัยอาวุโสสาขาภาษาอังกฤษ” ประจำปีพ.ศ. ๒๕๕๘
– จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “อักษรจรัสรุ่น ๔๕” ปีพ.ศ. ๒๕๖๐
– เกียรติคุณและรางวัลเกี่ยวเนื่องกับการเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการที่จัดขึ้น ณ ประเทศต่างๆ เช่น อินโดนีเซีย พ.ศ. ๒๕๖๒ ญี่ปุ่น พ.ศ. ๒๕๖๐ ฮ่องกง พ.ศ. ๒๕๕๗ และสาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. ๒๕๕๔
– ศิษย์เก่าดีเด่นของโรงเรียนสมุทรสาครบูรณะ ในโอกาสฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี ในปีพ.ศ. ๒๕๕๕
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
– ม.ว.ม. ประจำปี ๒๕๕๖ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖)
– ม.ป.ช. ประจำปี ๒๕๖๓ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔)