รองศาสตราจารย์ประยูร  ทรงศิลป์

ภาคีสมาชิก  แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕  สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก (ภาษาเขมร) ประเภทวิชาวรรณศิลป์  สำนักศิลปกรรม

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา

                    –   ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชาในคณะกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาเขมร
                    –   กรรมการดำเนินงานเผยแพร่ผลงานวิชาการของราชบัณฑิตยสภา
                    –   บรรณาธิการวารสารราชบัณฑิตยสภา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๑

ประวัติการศึกษา

                    –   กศ.บ. (ภาษาไทย) วิทยาลัยวิชาการศึกษา พิษณุโลก (พ.ศ. ๒๕๑๓)
                    –   ศศ.ม. (จารึกภาษาตะวันออก) มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. ๒๕๒๔)

ผลงานวิชาการ

                    –   พุทฺธสาสนบณฺฑิตฺย. ๒๕๕๑. วรรณกรรมคำสอนเขมร. ประยูร  ทรงศิลป์ แปล.
                        กรุงเทพฯ : โครงการตำรามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาส
                        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏ
                        ธนบุรี.
                    –   ประยูร  ทรงศิลป์. ๒๕๕๓. วรรณกรรมคำสอน : จฺบาบ่เผฺสง ๆ. กรุงเทพฯ : สุวรรณสาร
                        การพิมพ์.
                    –   ประยูร  ทรงศิลป์. ๒๕๕๓. เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาภาษาเขมรเพื่อการสื่อสาร
                   
หน่วยที่ ๑๔ นันทนาการ. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
                    –   ประยูร  ทรงศิลป์. ๒๕๕๕. นิทานพื้นบ้านชุดที่มาของประเพณี พิธีกรรม และประวัติ
                        เจ้าพ่อเจ้าแม่.
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
                    –   ประยูร  ทรงศิลป์. ๒๕๕๕. เอกสารประกอบการสอนภาษาเขมรพื้นฐาน. กรุงเทพฯ :
                        มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
                    –   ประยูร  ทรงศิลป์. ๒๕๕๖. นิทานพื้นบ้านชุดตำนานรุกขชาติ สัตว์ และปรากฏการณ์
                        ธรรมชาติ.
กรุงเทพฯ : พิศิษฐ์การพิมพ์.
                    –   ประยูร  ทรงศิลป์. ๒๕๕๖. เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาภาษาเขมรเพื่อธุรกิจ ๑
                       
หน่วยที่ ๖ บริษัทและธนาคาร. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
                    –   ประยูร  ทรงศิลป์. “วรรณกรรมฉบับ : คำสอนชาย”. ในวารสารราชบัณฑิตยสถาน.
                        ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ (ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖).
                    –   ประยูร  ทรงศิลป์ และทรงธรรม  ปานสกุณ. “แหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ใน
                        นิทานพื้นบ้านเขมร”. ใน Varidian มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๒ (พ.ค.-ส.ค.
                        ๒๕๕๘).
                    –   ประยูร  ทรงศิลป์. ๒๕๕๙. เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาภาษาเขมรเพื่อธุรกิจ ๒
                    หน่วยที่ ๘ ธุรกิจการเกษตร หน่วยที่ ๙ ธุรกิจศิลปหัตถกรรม. นนทบุรี : มหาวิทยาลัย
                        สุโขทัยธรรมาธิราช.

เกียรติคุณที่ได้รับ

                    –   อาจารย์ผู้สอนดีเด่น สาขาศิลปศาสตร์ เนื่องในโอกาส ๑๐๐ ปี การฝึกหัดครูไทย
                        (พ.ศ. ๒๕๓๖)
                    –   อาจารย์ภาษาไทยดีเด่น ระดับอุดมศึกษา ของคุรุสภา (พ.ศ. ๒๕๓๗)
                    –   ศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (พ.ศ. ๒๕๕๒)
                    –   อาจารย์ผู้ทำคุณประโยชน์ให้มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี (พ.ศ. ๒๕๕๖)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์           มหาปรมาภรณ์มงกุฎไทย