ศาสตราจารย์เกียรติคุณปัญญา  บริสุทธิ์

ราชบัณฑิต   โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๒  สาขาวิชาวรรณกรรมร้อยแก้ว ประเภทวิชาวรรณศิลป์  สำนักศิลปกรรม

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา

                   –   นายกราชบัณฑิตยสถาน (๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒-๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖)
                   –   ที่ปรึกษาคณะกรรมการประสานงานแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับองค์การปราชญ์
                       ต่างประเทศ
                   –   ที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ปัจจุบันภาษาไทย-ภาษาจีน
                   –   ที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงานเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของราชบัณฑิตยสภา
                   –   ประธานคณะราชบัณฑิตที่ปรึกษา (๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐-๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒)
                   –   ประธานบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมไทย

ประวัติการศึกษา

                   –   อักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๒) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๐๖)
                   –   อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาตะวันตก) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๐๘)
                   –   Docteur de l’ Université de Paris (Mention Très Honorable) ประเทศฝรั่งเศส
                       (พ.ศ. ๒๕๑๐)
                   –   ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (พ.ศ. ๒๕๓๘)

ผลงานวิชาการ

                   –   โลกทัศน์ของคนไทยวิเคราะห์จากวรรณคดีคำสอนสมัยสุโขทัย. ได้รับทุนวิจัยจาก
                       สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ โอเดียนสโตร์พิมพ์เผยแพร่
                       พ.ศ. ๒๕๒๓ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติจัดแปลเป็นภาษาอังกฤษและ
                       พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๒๕
                   –   การศึกษาสภาพสังคมไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จากเอกสาร
                       สำคัญทางวรรณคดีในสมัยนั้น.
ได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม
                       แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๖ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิมพ์เผยแพร่
                       พ.ศ. ๒๕๒๘
                   –   ชนชาติต่าง ๆ ในแหลมอินโดจีน. (แปล) โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
                       พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๒๑ และ พ.ศ. ๒๕๒๕
                   –   วรรณกรรมเชิงปรัชญาของฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
                       ธรรมศาสตร์พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๒๙ (ได้รับรางวัลแต่งตำราจากโครงการส่งเสริม
                       การสร้างตำราของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
                   –   ทฤษฎีและวิธีปฏิบัติในการแปล. ราชบัณฑิตยสถานพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๓๓,
                       พ.ศ. ๒๕๓๗ และ พ.ศ. ๒๕๔๒
                   –   วิเคราะห์วรรณคดีไทยโดยประเภท. ราชบัณฑิตยสถานพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๓๔ และ
                       พ.ศ. ๒๕๔๒

เกียรติคุณที่ได้รับ

                   –   ได้รับคัดเลือกให้เป็น “ลูกที่มีความกตัญญูกตเวทีอย่างสูงต่อแม่” ประจำปี ๒๕๔๐
                       จากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
                   –   กีรตยาจารย์ สาขามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๔๑)
                   –   ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย
                       ธรรมศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๔๕)
                   –   ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย
                   –   ศิษย์เก่าอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีเด่น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

                    –   มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
                    –   มหาวชิรมงกุฎ
                   –   เครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของตระกูลปาล์มส์ อากาเดมีกส์ (Commandeur dans
                       l’ Ordre des Palmes Académiques) จากรัฐบาลฝรั่งเศส ในฐานะนักวิชาการผู้มี
                        ผลงานดีเด่นในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจทางด้านการศึกษาภาษาฝรั่งเศสและ
                        วัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศส (พ.ศ. ๒๕๓๓)