ราชบัณฑิต โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ สาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สำนักศิลปกรรม
ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
– อุปนายกราชบัณฑิตยสภา (ลำดับที่ ๒) (๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐-๑๑ เมษายน
พ.ศ. ๒๕๖๒)
– ประธานสำนักศิลปกรรม (พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙-พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑)
– ประธานคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย (พ.ศ. ๒๕๔๖-๒๕๕๑)
– ประธานคณะบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมวรรณกรรมไทยสมัยใหม่
(พ.ศ. ๒๕๕๑-ปัจจุบัน)
– ประธานคณะกรรมการดำเนินงานเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของราชบัณฑิตและ
ภาคีสมาชิกเป็นภาษาอังกฤษ (พ.ศ. ๒๕๕๑-ปัจจุบัน)
– บรรณาธิการจัดทำสารานุกรมไทย (พ.ศ. ๒๕๔๗-ปัจจุบัน)
– บรรณาธิการจัดทำสารานุกรมประวัติศาสตร์สากล เอเชีย (พ.ศ. ๒๕๓๑-ปัจจุบัน)
– บรรณาธิการวารสารราชบัณฑิตยสถาน ฉบับภาษาอังกฤษ (พ.ศ. ๒๕๕๑-ปัจจุบัน)
ประวัติการศึกษา
– ปริญญาตรี, โท, ดิโพลมาชั้นสูงด้านการศึกษา จากมหาวิทยาลัยดับลิน (ทรินิตีคอลเลจ),
สาธารณรัฐไอร์แลนด์
– ปริญญาโท อินเดียศึกษา จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน (เมดิสัน), สหรัฐอเมริกา
– ดิโพลมาภาษาฝรั่งเศส จากสถาบันตูแรน มหาวิทยาลัยปัวตีเย, ประเทศฝรั่งเศส
ประวัติการทำงานวิชาการ
– ผู้อำนวยการศูนย์อินเดียศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๓๖-๒๕๔๐)
ผลงานวิชาการ
– งานวิจัยเรื่อง ลักษณะความเป็นมาและพฤติกรรมของตัวละครในรามเกียรติ์ฯ
(วิจัยร่วมกับ น.ส.สุมาลย์ บ้านกล้วย) สถาบันไทยศึกษา, ๒๕๒๓
– ผลการปฏิรูปประเทศสมัยอตาเติร์กต่อประเทศตุรกีปัจจุบัน, ๒๕๓๒
– อารยธรรมตะวันออก (ส่วนของอารยธรรมอินเดีย), ๒๕๔๒
– ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาอินเดีย, ๒๕๔๕
– แปลกาพย์พระไชยสุริยาของสุนทรภู่เป็นร้อยกรองภาษาอังกฤษ, ๒๕๒๙
– แปลกวีนิพนธ์ ยูนุส เอมเร เป็นร้อยกรองภาษาไทย (๔๘ บท), ๒๕๓๔.
– แปลพระอภัยมณีของสุนทรภู่ (แปลเป็นคณะ) Phra Aphai Mani part I, ๒๕๔๒,
Part II ๒๕๔๓, Part III, ๒๕๔๗, Part IV, ๒๕๔๙, Part V ๒๕๕๑, Part VI, VII ๒๕๕๓,
Part VIII ๒๕๕๔, Part IX ๒๕๕๘, Part X, XI, XII ๒๕๕๙
– ลิงน้อยใหญ่ในรามเกียรติ์, ๒๕๔๙
– รามกถา เล่าเรื่องรามจริตมานัสของตุลสีทาส, ๒๕๕๐
– การแปล : กุญแจสู่โลกาภิวัตน์, ๒๕๕๑.
– บทความ “Indians in Thailand”, Rising India and Indian Communities in East
Asia. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, ๒๕๕๑.
– บทความ “Thai Literature as Source of the Intellectual History of Thailand”,
Syamadesa Samskritapurusah Acarya Chirapat Prapandvidyah, 2013
(2556). Bangkok: Silpakorn University.
– บทความลงวารสารและหนังสือรวมบทความต่าง ๆ เช่น “ภาษา วรรณกรรมและ
วัฒนธรรม ความเชื่อมโยงที่สำคัญและยั่งยืน.” ๘๐ ปี ราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ :
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, ๒๕๕๘.
เกียรติคุณที่ได้รับ
– ทุนรัฐบาลไทยไปศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ และสาธารณรัฐไอร์แลนด์
– N.V. Gadgil Memento Award (อินเดีย), ๒๕๓๙
– กีรตยาจารย์ สาขามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๐
– ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๑
– ศิษย์เด่นดีศรีเซ็นต์ฟรัง, ๒๕๔๘
– รางวัลสุรินทราชา จากสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย, ๒๕๕๒
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (มนุษยศาสตร์) พ.ศ. ๒๕๕๗
– มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. ๒๕๔๐
– มหาวชิรมงกุฎ พ.ศ. ๒๕๓๔