รองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์

ภาคีสมาชิก        แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔

                      สาขาวิชา ภาษาและวรรณคดีต่างประเทศตะวันตก (ภาษอังกฤษ)

                      ประเภทวิชาวรรณศิลป์  สำนักศิลปกรรม

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา

          – กรรมการในคณะกรรมการสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ปัจจุบัน)

          – กรรมการในคณะกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้และประสานงานทางวิชาการกับองค์การปราชญ์

และสถาบันทางวิชาการในประเทศและต่างประเทศ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ปัจจุบัน)

          กรรมการในคณะกรรมการเฉพาะกิจจัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ หรือ ๗๒ พรรษา (พ.ศ. ๒๕๖๗ – ปัจจุบัน)

          – กรรมการในคณะกรรมการพิจารณาตัดสินการประกวดต้นฉบับอักขรานุกรม เกร็ดความรู้อายุรศาสตร์ ผู้สูงอายุ A-Z (พ.ศ. ๒๕๖๗ – ปัจจุบัน)

ประวัติการศึกษา

          – อักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๑) เหรียญทอง ภาษาอังกฤษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒o – อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาษาอังกฤษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๒

          – M.A. in Literature, Marquette University เมือง Milwaukee มลรัฐ Wisconsin

             ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยทุน Fulbright พ.ศ. ๒๕๒๕

          – Cert. in American Literature, University of Delaware เมือง Newark มลรัฐ Delaware

             ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยทุนรัฐบาลอเมริกัน พ.ศ. ๒๕๓๙

ประวัติการทำงานวิชาการ/วิชาชีพ

          – อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
             (พ.ศ. ๒๕๒o – พ.ศ. ๒๕๕๙ )

ประวัติการทำงานบริหาร

          – ประธานหลักสูตรอักษรศาสตร์บัณฑิต สาขาภาษาและวัฒนธรรม (หลักสูตรนานาชาติ)

             คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๕๕ – พ.ศ. ๒๕๕๙)

          – รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ (ฝ่ายต่างประเทศ) คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

             (พ.ศ. ๒๕๕๑ – พ.ศ. ๒๕๕๘)

        – รองผู้อำนวยการสำนักบริหารงานวิรัชกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๔๗- พ.ศ. ๒๕๕๑)     – ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๔๘- พ.ศ. ๒๕๕๑)

        – ผู้อำนวยการโครงการ Perspectives on Thailand ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องแห่งจุฬาลงกรณ์                       มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๔๓ – พ.ศ.๒๕๕๕)

        – กรรมการบริหารหลักสูตรอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการแปลและการล่าม (สายการแปล)

           (พ.ศ. ๒๕๕๑ – พ.ศ.๒๕๕๘)

        – กรรมการบริหารหลักสูตรอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการแปลและการล่าม (สายการล่าม)

           (พ.ศ. ๒๕๕๑ – พ.ศ. ๒๕๕๘)

ผลงานวิชาการ/วิชาชีพที่สำคัญ

งานวิจัย

            – กวีนิพนธ์รักของกวีเอกหญิงอเมริกันร่วมสมัย (กรุงเทพ: โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๓): ๒๘๖ หน้า.

            – กวีนิพนธ์อเมริกัน: บทวิเคราะห์และสรรนิพนธ์ (กรุงเทพ สำนักพิมพ์ศยาม, ๒๕๔๔) : ๒๖o หน้า. ผู้วิจัยหลัก นิตยา มาศะวิสุทธิ์ ผู้ร่วมวิจัย นฤมล กาญจนทัต สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ และศรวณีย์ สุขุมวาท  (ได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย )

            – อาหาร อารมณ์และอำนาจของสตรีในวรรณกรรมร้อยแก้วตะวันตกร่วมสมัย  (กรุงเทพ: โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕o): ๓๘o หน้า.

หนังสือ

          – Background to American Literature, 2nd ed. (Bangkok: Chulalongkorn University Press, 2006): 598 pages.

          – กวีนิพนธ์อเมริกันสมัยใหม่, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๓): ๒๗๘ หน้า.

          – Poetry: An Introductory Study, 2nd ed. (Bangkok: Book Project of the Faculty of Arts, Chulalongkorn University, 1997): 212 pages.

          – เรียนภาษาอังกฤษจากนิทาน (กรุงเทพ: ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๕): ๔๗๑ หน้า.

ความเชี่ยวชาญ

          – วรรณคดีอังกฤษและอเมริกัน  วัฒนธรรมศึกษา การพูดภาษาอังกฤษในที่ชุมชน และการแปลโดยเฉพาะการแปลบทกวีนิพนธ์

เกียรติคุณที่ได้รับ

          – สอบไล่ได้เป็นลำดับที่ ๔ ของประเทศ ในการสอบไล่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายศิลป์ภาษา ประจำปีการศึกษา๒๕๑๕

          – จบอักษรศาสตร์บัณฑิตด้วยเกียรตินิยมอันดับ ๑ และทำคะแนนภาษาอังกฤษได้ดีเยี่ยมได้รับเหรียญทอง พ.ศ. ๒๕๒o

          – ได้รับเลือกให้เป็น “นารีศรีสตรีวิทยา” โดยสตรีวิทยาสมาคมในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้วยเป็นศิษย์เก่าดีเด่นผู้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม และนำชื่อเสียงมาสู่โรงเรียนสตรีวิทยา พ.ศ. ๒๕๖๒

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

          – ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)  พ.ศ. ๒๕๓๘

          – มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)  พ.ศ. ๒๕๔๔