ภาคีสมาชิก แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๔ เดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
สาขาวิชานาฏกรรม ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์ สำนักศิลปกรรม
ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
– กรรมการศัพท์นาฏกรรม ราชบัณฑิตยสภา (พ.ศ. ๒๕๖๓)
– กรรมการนามานุกรม นาฏกรรม ราชบัณฑิตยสภา (พ.ศ. ๒๕๖๓)
ประวัติการศึกษา
– ปริญญาตรี สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๔๐)
– ปริญญาโท สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๔๒)
– ปริญญาเอก สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๔๙)
ประวัติการทำงานวิชาการ/วิชาชีพ
– ภาคีสมาชิก ประเภทวิจิตรศิลป์ สาขานาฏกรรม สำนักศิลปกรรม
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (พ.ศ. ๒๕๖๓ – ปัจจุบัน)
ประวัติการทำงานบริหาร
– รองคณบดีฝ่ายวิจัย บัณฑิต และกิจการนิสิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(พ.ศ. ๒๕๕๒ – พ.ศ. ๒๕๕๕)
– ผู้ช่วยคณบดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๕๑)
– หัวหน้าภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(พ.ศ. ๒๕๕๘ – พ.ศ. ๒๕๖๖)
– ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๔๘ – ปัจจุบัน)
– ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๔๘ – ปัจจุบัน)
ผลงานวิชาการ/วิชาชีพที่สำคัญ
ผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
๑. อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์. ลิเกในประเทศไทย. ทุนกรมส่งเสริมวัฒนธรรม, กระทรวงวัฒนธรรม.
๒. อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์. นวัตกรรมหนังจับระบำ เล่าเรื่องพุทธประวัติ ตอนมารผจญ ทุนสนับสนุนจากสำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
๓. อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์. “ลิเก เพื่อการเรียนรู้โรคความดันโลหิต” ทุนรัชดาภิเษกสมโภช
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการนิเวศวัฒนธรรมวิจัยและนวัตกรรม กองทุนสงเสริมการวิจัยเชิงลึก
ในสาขาวิชาที่มีศักยภาพสูง (761008-02AC) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒ – ๒๕๖๔
๔. อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์. “นวัตกรรมและสร้างสรรค์ละครร้องไทยร่วมสมัยเพื่อเตรียมความรู้สู่สังคมผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ” ทุนสนับสนุน จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ ๒๕๖๓
๕. อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์. “นาฏกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาพสังคมสิ่งแวดล้อม ละครเพลงลูกทุ่ง วัยรุ่นวัยแรง” ทุนสนับสนุน จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติปีงบประมาณ ๒๕๖๓
ผลงานหนังสือ
อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์. “ลิเก: การแสดงและการฝึกหัด”. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่ ๑ เดือนกันยายน ปี พ.ศ. ๒๕๕๙.
อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์. “ไหว้ครูนาฏยศิลป์ไทย ความหมาย พิธีการ การจัดการ” สำนักพิมพ์ธนาเพรส. ปี พ.ศ. ๒๕๕๒.
ความเชี่ยวชาญ
นาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์พื้นบ้าน วิจัยสร้างสรรค์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
– ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๓)