ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรมร้อยกรอง (ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งวันที่ ๓๐ มิ.ย. ๒๕๖๓)
ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
– ประธานสำนักศิลปกรรม ( ๒๑ พ.ค. ๒๕๖๗–ปัจจุบัน)
– เลขานุการสำนักศิลปกรรม (๒๑ พ.ค. ๒๕๖๕–๒๐ พ.ค. ๒๕๖๗)
– กรรมการคณะกรรมการกิจการราชบัณฑิตยสภา( ๒๑ พ.ค. ๒๕๖๕–ปัจจุบัน)
– บรรณาธิการวารสารราชบัณฑิตยสภา ( ๒๕๖๕–๒๕๖๗)
– กรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการสมาชิกราชบัณฑิตยสภา
ประวัติการศึกษา
– อักษรศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๕๒๐)
– อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๕๓๐)
ผลงานวิชาการ
ระเด่นลันได วรรณกรรมอำพราง. (๒๕๔๔). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรรณกรรมร้อยกรองของไทย. (๒๕๕๗). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เทียนทอแสง รวมบทความ. (๒๕๕๙). พี. เอ. ลีฟวิ่ง.
กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ บรรทัดฐานการประพันธ์คำฉันท์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. (๒๕๖๒).พิมพ์สวย.
ราชกิจพิสิฐล้ำเลอคุณ. (๒๕๔๙). วารสารราชบัณฑิตยสถาน. ๓๑ (กรกฎาคม–กันยายน), ๖๓๙- ๖๔๓.
อุทกกลหะคำกาพย์ หรือ สมานฉันท์คำกาพย์. (๒๕๕๐). น้ำกับชีวิต. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรรษา, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐.
มณิกัณฐคำกาพย์. (๒๕๖๓). พิมพ์สวย.
โคธาคำกาพย์. (๒๕๖๕). พิมพ์สวย.
เกียรติคุณที่ได้รับ
– ผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น พ.ศ. ๒๕๖๑ กระทรวงวัฒนธรรม
– ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น พ.ศ. ๒๕๖๕ กระทรวงวัฒนธรรม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)