ราชบัณฑิต โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ สาขาวิชาภาษาไทย ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สำนักศิลปกรรม
ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
– อุปนายกราชบัณฑิตยสภา (ลำดับที่ ๒) (๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘-๑๑ เมษายน
พ.ศ. ๒๕๕๐)
– ประธานกรรมการจัดทำพจนานุกรมฉบับนักเรียน
– ประธานกรรมการจัดทำพจนานุกรมภาษาไทยปัจจุบัน
– ประธานกรรมการดำเนินงานด้านวิชาการเพื่อส่งเสริมและเผยแพร่การใช้ภาษาไทย
– ประธานกรรมการจัดทำบทโทรทัศน์เพื่อผลิตการ์ตูนแอนิเมชันส่งเสริมและเผยแพร่
ภาษาไทย
– กรรมการชำระพจนานุกรม
– กรรมการปรับปรุงหลักเกณฑ์การทับศัพท์
– กรรมการส่งเสริมและเผยแพร่การใช้ภาษาไทย
– กรรมการจัดทำพจนานุกรมโบราณศัพท์
– กรรมการดำเนินงานคัดเลือกผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น
ประวัติการศึกษา
– อักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๒) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– Master of Arts. School of Oriental and African Studies, University of
London.
– Doctor of Philosophy. School of Oriental and African Studies. University of
London.
– วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน
– อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงานวิชาการ
– ระบบเสียงภาษาไทย พิมพ์ครั้งที่ ๖ หนังสือชุด บรมราชกุมารีอักษรานุรักษ์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย ๒๕๕๐, ๑๖๘ หน้า. (พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๒๐)
– อ่านภาษาเขมร พิมพ์ครั้งที่ ๒. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โรงพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ, ๒๕๔๐, ๒๒๓ หน้า. (พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๒๔)
– พจนานุกรม ไทย-เขมร ฉบับทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภช พิมพ์ครั้งที่ ๒ สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๕๔๘,
๑๑๕๕ หน้า (พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๒๖)
– ภาษาไทยวันละคำ ฉบับรวมเล่ม (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เกียรติคุณที่ได้รับ
– พระเกี้ยวทองคำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– นิสิตเก่าอักษรศาสตร์ดีเด่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– ครูภาษาไทยดีเด่น กระทรวงศึกษาธิการ
– ศิษย์เก่าสตรีวัดระฆังดีเด่น สตรีวัดระฆังสมาคม
– สตรีตัวอย่างแห่งปี สาขานักวิชาการด้านภาษาไทยดีเด่น
– สตรีตัวอย่างแห่งปี สาขาส่งเสริมการศึกษาและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
– ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวิชาภาษาไทย กระทรวงศึกษาธิการ
– ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย กระทรวงวัฒนธรรม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ – มหาวชิรมงกุฎ