รองศาสตราจารย์ภิญโญ  สุวรรณคีรี

ราชบัณฑิต   โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖  สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ประเภทวิชาสถาปัตยศิลป์  สำนักศิลปกรรม

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา

                    –   ประธานสำนักศิลปกรรม
                    –   กรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์สถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง
                    –   บรรณาธิการจัดทำสารานุกรมศัพท์หัตถศิลป์ไทย

ประวัติการศึกษา

                    –   สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                    –   สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย, สหรัฐอเมริกา

ผลงานวิชาการ

                    ออกแบบอาคารทางศาสนาและงานสถาปัตยกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น
                    –   อาคารพิพิธภัณฑ์และศูนย์ฝึกอบรมด้านการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวง
                        สาธารณสุข, ๒๕๓๗
                    –   พระอุโบสถ วัดไทยกุสินารามหาวิหาร ประเทศอินเดีย, ๒๕๓๘
                    –   พระอุโบสถ วัดไทยลุมพินีมหาวิหาร ประเทศเนปาล, ๒๕๓๙
                    –   พระตำหนักแปรพระราชฐาน อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในโครงการคืนสู่
                        แผ่นดินเกิดลุ่มน้ำปากพนัง สนองพระราชดำริ, ๒๕๔๐
                    –   ศาลาไทยเมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี, ๒๕๔๓
                    –   ศาลฎีกา

เกียรติคุณที่ได้รับ

                    –   สถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
                        เจ้าคุณทหารลาดกระบัง (พ.ศ. ๒๕๓๖)
                    –   ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม (พ.ศ. ๒๕๓๗)
                    –   บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาการพัฒนาสังคม (ด้านสถาปัตยกรรมไทย) (พ.ศ. ๒๕๔๒)
                    –   สถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                    –   สถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
                    –   สถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
                    –   สถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
                    –   NIKAI ASIA PRIZE
                    –   ASIA PACIFIC

เครื่องราชอิสริยาภรณ์           –         มหาปรมาภรณ์วชิรมงกุฎ
          –         เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (พ.ศ. ๒๕๔๒)