นายชลิตภากร  วีรพลิน

ราชบัณฑิต   โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘  สาขาวิชาการผังเมือง ประเภทวิชาสถาปัตยศิลป์  สำนักศิลปกรรม

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา

                        ประธานกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ผังเมือง (๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๖-๑๔                          สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑)

ประวัติการศึกษา

                    –   สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๔๙๙)
                    –   Master of Urban and Regional Planning มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย, สหรัฐอเมริกา
                        (พ.ศ. ๒๕๐๖)
                    –   Master of Architecture มหาวิทยาลัยมิชิแกน, สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๑๒)

ผลงานวิชาการ

                    –   หัวหน้าโครงการกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นในและชั้นนอก วางผังเมืองเฉพาะ นำมาออกเป็น
                        ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
                    –   หัวหน้าโครงการการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางพัฒนากรุงเทพมหานครและปริมณฑล
                        ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๒๙ เสนอ
                        สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                    –   หัวหน้าโครงการวิจัย เรื่อง แนวทางการพัฒนากรุงเทพมหานครและปริมณฑล
                        พ.ศ. ๒๕๒๔ เสนอคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และได้นำเข้าใน
                        แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๔)
                    –   หัวหน้าโครงการวางผังเมืองและผังชนบท ระดับประเทศ และระดับภาค ๖ ภาค คือ
                        ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ
                        กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีขอบเขตการศึกษาและวิเคราะห์ที่สำคัญคือ
                        สถานการณ์ภายนอกที่มีผลต่อการพัฒนาพื้นที่ในแต่ละภาค ซึ่งยึดถือวาระแห่งชาติเป็น
                        กรอบคือ  ๑) การแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ ๒) การเพิ่มขีด
                        ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ  ๓) การพัฒนาทุนทางสังคม และ ๔) การพัฒนา
                        ที่ยั่งยืน ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้การวางผังเมืองและผังชนบทเต็มพื้นที่
                        ประเทศไทยและครอบคลุมพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกองค์กรด้วย

เกียรติคุณที่ได้รับ

                    –   สถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการออกแบบชุมชนเมือง มหาวิทยาลัย
                        ศิลปากร (พ.ศ. ๒๕๓๖)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์                     มหาวชิรมงกุฎ