ศ. ดร.วิบูลย์ ลี้สุวรรณ
ราชบัณฑิต
บทคัดย่อ
จิตรกรรมเป็นงานศิลปะประเภทหนึ่งของไทยที่ส่วนมากเกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา ปรากฏอยู่ทุกภาค จิตรกรรมฝาผนังนั้นแบ่งเป็นจิตรกรรมฝีมือช่างหลวงและจิตรกรรมฝีมือช่างพื้นบ้านหรือช่างพื้นถิ่น เฉพาะในภาคตะวันออกพบจิตรกรรมฝีมือช่างพื้นบ้านบนผนังโบสถ์ วิหาร ตามวัดต่าง ๆ ทุกจังหวัด จิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างพื้นบ้านมีลักษณะเด่นคือ ไม่เคร่งครัดตามคตินิยมของจิตรกรรมแบบประเพณี ไม่นิยมปิดทองคำเปลว ใช้สีน้อย เฉพาะในจังหวัดชลบุรี มักเขียนภาพอดีตพุทธ พระพุทธเจ้า พระสาวก พระภิกษุ พระมาลัย สภาพภูมิประเทศ ตำแหน่งของภาพมีทั้งที่ฝาผนังทั้งสี่ด้าน เสา บานหน้าต่าง บานประตู กลุ่มช่างพื้นบ้านบริเวณอำเภอเมืองชลบุรีนิยมเขียนเรื่องอสุภ พระภิกษุปลงศพเพื่อเป็นมาณานุสติมากกว่าเรื่องอื่น วัดที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างพื้นบ้านที่สำคัญ คือ วัดบางแป้ง วัดตาลล้อม วัดเตาปูน เป็นต้น นอกจากนี้ในภาคตะวันออกยังมีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างพื้นบ้านในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ซึ่งมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป
คำสำคัญ : จิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างหลวง, จิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างพื้นบ้าน, ภาพอดีตพุทธ, อสุภ
ภาพ: https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Dharmacakra_flag_(Thailand).svg