ศัพทมูลของคำว่า กั้นหยั่น

ดร.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล
ภาคีสมาชิก

บทคัดย่อ

มีผู้เสนอว่า กั้นหยั่น เป็นคำที่มีศัพทมูลมาจากภาษาจีน เดิมเป็นชื่อเฉพาะของกระบี่เล่มหนึ่ง เรียกกระบี่ กันจีอ่อง (乾將) ในภาษาจีนฮกเกี้ยน หรือ กังเจี่ยง ในภาษาแต้จิ๋ว กระบี่เล่มนี้สร้างขึ้นในสมัยฤดูสารทวสันต์ของจีน มีประวัติอยู่ในเรื่องเลียดก๊ก ต่อมาคำนี้กลายความหมายไป หมายถึง ‘กระบี่ทั่วไป’ และ ‘กระบี่สั้น’ ตามลำดับ แต่เมื่อตรวจสอบเอกสารประเภทพงศาวดารพบข้อความตอนหนึ่งว่า มีพ่อค้าแขกนำกั้นหยั่นมาทูลเกล้าฯ ถวายแด่สมเด็จพระนารายณ์ตั้งแต่ครั้งที่ยังเป็นสมเด็จพระราชกุมาร เมื่อสอบกับภาษาต้องสงสัย ก็ได้พบว่าภาษาเปอร์เซียมีคำว่า khanjar ( خنج ر ) และเมื่อพิเคราะห์รูปทรง และการใช้อาวุธชนิดนี้ ก็ทำให้มั่นใจว่า กั้นหยั่นมีศัพทมูลมาจากคำภาษาเปอร์เซียร์ดังกล่าว ศัพทมูลของคำนี้ยังช่วยให้อนุมานรูปทรงและลักษณะการพกพาอาวุธนี้ด้วย ทำให้สามารถเขียนนิยามที่เหมาะสมของคำนี้ได้

คำสำคัญ: กั้นหยั่น, ศัพทมูล, คำยืมจากภาษาเปอร์เซีย

ภาพ: https://commons.wikimedia.org/w/index.php?search=khanjar&title=Special:Search&go=Go&ns0=1&ns6=1&ns12=1&ns14=1&ns100=1&ns106=1&searchToken=639q0fgghybscwb6uns6wci8u#%2Fmedia%2FFile%3ATypes_of_khanjar_daggers.jpg

Academy of Arts

สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา

View all posts by Academy of Arts →