การประชุมสำนักศิลปกรรม ครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๗

เมื่อวันอังคารที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. รองศาสตราจารย์โชษิตา มณีใส เป็นประธานในการประชุมสำนักศิลปกรรม ครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๗ ณ ห้องประชุม ๓๐๑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา และผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings การประชุมครั้งนี้มีราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกบรรยายผลงานทางวิชาการ รวม ๓ คน …

การประชุมสำนักศิลปกรรม ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๗

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. ศาสตราจารย์เกียรติคุณวิบูลย์ ลี้สุวรรณ เป็นประธานในการประชุมสำนักศิลปกรรม ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๗ ณ ห้องประชุม ๓๐๑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา และผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings การประชุมครั้งนี้มีภาคีสมาชิกบรรยายผลงานทางวิชาการ จำนวน ๒ คน …

ประชุมสำนักศิลปกรรม ครั้งที่ ๕/๒๕๖๗

สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา จัดประชุมสำนักศิลปกรรม ครั้งที่ ๕/๒๕๖๗ เมื่อวันอังคารที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐-๑๕.๓๐ น. โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณวิบูลย์ ลี้สุวรรณ ประธานสำนักศิลปกรรม เป็นประธานที่ประชุม มีการบรรยายทางวิชาการเรื่อง “ฮิตเลอร์กับซอฟต์พาวเวอร์” โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์ สาขาวิชานาฏกรรม …

จิตรกรรมฝีมือกลุ่มช่างพื้นบ้านชลบุรี

ศ. ดร.วิบูลย์ ลี้สุวรรณราชบัณฑิต บทคัดย่อ จิตรกรรมเป็นงานศิลปะประเภทหนึ่งของไทยที่ส่วนมากเกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา ปรากฏอยู่ทุกภาค จิตรกรรมฝาผนังนั้นแบ่งเป็นจิตรกรรมฝีมือช่างหลวงและจิตรกรรมฝีมือช่างพื้นบ้านหรือช่างพื้นถิ่น เฉพาะในภาคตะวันออกพบจิตรกรรมฝีมือช่างพื้นบ้านบนผนังโบสถ์ วิหาร ตามวัดต่าง ๆ ทุกจังหวัด จิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างพื้นบ้านมีลักษณะเด่นคือ ไม่เคร่งครัดตามคตินิยมของจิตรกรรมแบบประเพณี ไม่นิยมปิดทองคำเปลว ใช้สีน้อย เฉพาะในจังหวัดชลบุรี มักเขียนภาพอดีตพุทธ พระพุทธเจ้า พระสาวก พระภิกษุ พระมาลัย สภาพภูมิประเทศ ตำแหน่งของภาพมีทั้งที่ฝาผนังทั้งสี่ด้าน เสา …

แนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมสำหรับชุมชนสูงอายุ (Design Guidelines for Aged Community Environment)

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ กำธร กุลชลภาคีสมาชิก บทคัดย่อ ในช่วงเวลาอีก ๒๓ ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” เมื่อประชากร ร้อยละ ๒๐ จะมีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป ผู้เขียนจึงนำเสนอบทความที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบชุมชนซึ่งจะตอบโจทย์ใน “มิติด้านสภาพแวดล้อม” สำหรับผู้สูงอายุ โดยนำผลการศึกษา วิจัย และหลักการ ที่เกี่ยวข้องจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มาประยุกต์ใช้เป็นองค์ประกอบหลักแนวความคิดที่สำคัญเกิดจากการรณรงค์ให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตต่อไปในที่อาศัยอยู่เดิม …

ภาษาไทย : การรวมอำนาจ กับ การกระจายอำนาจ

ดร.นิตยา กาญจนะวรรณราชบัณฑิต บทคัดย่อ บทความนี้กล่าวถึงความเป็นมาของรูปการเขียนคำไทยที่แต่เดิมเขียนได้หลายแบบ ดังที่ปรากฏในเอกสารโบราณหลายฉบับ แต่เมื่อถึง พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้มีประกาศให้หน่วยราชการใช้ตัวสะกดแบบเดียวกันตามปทานุกรมของกระทรวงธรรมการ เพื่อประโยชน์แก่การสื่อสาร เมื่อราชบัณฑิตยสถานรับหน้าที่ทำพจนานุกรมต่อมาอีก ๔ ฉบับ ก็ได้มีประกาศให้ศึกษาเล่าเรียนด้วย ผู้ใช้ภาษาจึงต้องเปิดดูพจนานุกรมอยู่เสมอเพื่อให้เขียนได้อย่างถูกต้องตามแบบราชการ ในปัจจุบันมีคำใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย ส่วนใหญ่ยังไม่ปรากฏในพจนานุกรม และอาจจะเขียนตามอักขรวิธีไทยหรือแบบอื่นก็ได้ จึงมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ด้วยการสร้างพจนานุกรมฉบับออนไลน์ และโปรแกรมช่วยเลือกคำที่เหมาะสม คำสำคัญ : …

พระขรรค์ในนาฏกรรมไทย

ดร.ไพโรจน์ ทองคำสุกราชบัณฑิต บทคัดย่อ ขรรค์ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ขรรค์ [ขัน] น. ศัสตราวุธชนิดหนึ่งมีคม ๒ ข้าง ที่กลางใบมีดทั้งใบและหลังเป็นสันเล็กคล้ายคมรูปหอก ด้ามสั้น พระขรรค์สิ่งของอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญต่อสังคมไทย โดยเฉพาะราชสำนักไทย พระขรรค์หนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์เป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระราชา ซึ่งพระราชครูพราหมณ์ผู้ทำพิธี จะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ในวันที่ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระขรรค์ปรากฏในงานด้านวิจิตรศิลป์ไม่ว่าจะเป็น จิตรกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม …

เปลี่ยนสลับ ทับซ้อน ซ่อนร่าง ให้เป็นงานสร้างสรรค์

ศ.พรรัตน์ ดำรุงภาคีสมาชิก บทคัดย่อ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของปาฐกถานำในการประชุมสัมมนาวิชาการเรื่อง เปลี่ยนสลับ ทับซ้อน ซ่อนร่างในประเพณี และการละเล่นสวมหน้ากากในประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๓๐ – ๓๑ มกราคม ๒๕๖๓ โดย สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขง ที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงรายในฐานะของนักการละคร มุมมองที่จะนำเสนอเรื่องราว พลังพิเศษของหน้ากาก มีความแตกต่างไปจากข้อมูลทางวัฒนธรรมในแบบดั้งเดิม ในชุมชนของนักการละคร …

ศัพทมูลของคำว่า กั้นหยั่น

ดร.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุลภาคีสมาชิก บทคัดย่อ มีผู้เสนอว่า กั้นหยั่น เป็นคำที่มีศัพทมูลมาจากภาษาจีน เดิมเป็นชื่อเฉพาะของกระบี่เล่มหนึ่ง เรียกกระบี่ กันจีอ่อง (乾將) ในภาษาจีนฮกเกี้ยน หรือ กังเจี่ยง ในภาษาแต้จิ๋ว กระบี่เล่มนี้สร้างขึ้นในสมัยฤดูสารทวสันต์ของจีน มีประวัติอยู่ในเรื่องเลียดก๊ก ต่อมาคำนี้กลายความหมายไป หมายถึง ‘กระบี่ทั่วไป’ และ ‘กระบี่สั้น’ ตามลำดับ แต่เมื่อตรวจสอบเอกสารประเภทพงศาวดารพบข้อความตอนหนึ่งว่า มีพ่อค้าแขกนำกั้นหยั่นมาทูลเกล้าฯ ถวายแด่สมเด็จพระนารายณ์ตั้งแต่ครั้งที่ยังเป็นสมเด็จพระราชกุมาร …

สวัสดิมงคล

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)ราชบัณฑิต บทคัดย่อ สวัสดิมงคล เป็นคำสำคัญคำหนึ่งที่คนไทยนิยมใช้พูดใช้เขียนที่หมายถึงความดีงาม ความเจริญรุ่งเรือง ความปลอดภัย ความยั่งยืน เป็นต้น จึงถือกันว่าเป็นคำขลังและศักดิ์สิทธิ์ นำมาใช้ในกรณีให้พรแก่ผู้อื่นด้วยความปรารถนาดี เช่น ให้พรในเทศกาลปีไหม่ ให้พรกันเมื่อจากกัน ให้พรกันเมื่อเดินทางไกล หรือให้พรแก่คู่แต่งงานเพื่อให้อยู่กันยืดยาว เป็นต้น หรือใช้ในความปรารถนาเพื่อตน เมื่อตนทำสิ่งที่ดีงาม ทำสิ่งที่เป็นบุญเป็นประโยชน์ ก็ตั้งความปรารถนาให้ตนมีสวัสดิมงคล หรือปรารถนาให้สวัสดิมงคลเกิดขึ้นแก่ตัว ในการใช้คำนี้ในกรณีเหล่านี้เป็นที่เข้าใจกัน ดังนั้น …